มีอยู่สองประโยคเกี่ยวกับคนไทย ที่ผู้เขียนได้ยินแล้วรู้สึก “จี๊ด” ขึ้นมาทันที เพียงแต่ด้วยทัศนคติแบบชายชาตรี เลยไม่แสดงอารมณ์มากนัก 😛
ประโยคแรก (ไม่ได้ Quote มาตรงๆ)
เดาจากบริบทแล้ว ผู้พูดน่าจะอยู่ในชั้นปกครอง หรือเป็นชนชั้นนำของประเทศ“คนไทยยังไม่พร้อม (แปลว่า ยังโง่อยู่) ที่จะปกครองตัวเอง ประชาธิปไตยมากไปนั้นไม่ดี”
คำถามก็คือ ถ้าผู้พูดเป็นผู้ฉลาดมาก เหมาะสมจะเป็นผู้นำ ก็แสดงว่าที่บ้านเราถูกจัดว่าเป็นประเทศ “ด้อยพัฒนา” นั้น ผู้พูดต้องแสดงความรับผิดชอบกับความล้าหลังนี้ไปเต็มๆ ด้วยสินะ
หรือประโยคนี้เป็นเพียงการอ้างว่า ถ้าให้พวกเรา (ผู้กล่าว) ปกครองแบบเต็มๆ แต่แรก ก็ไม่ต้องมาล้าหลังแบบนี้?
แต่ที่น่าขันกว่าคือ ประโยคนี้พูดมาไม่น้อยกว่า 80 ปี แสดงออกถึงการรับรู้ว่า “เรา” มีปัญหาอะไรบ้าง
แล้วไหนล่ะ? ที่บ่งบอกในการพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะแก้ปัญหา
ประโยคที่สอง (ไม่ได้ Quote มาตรงๆ เช่นกัน)
ฟังดูสอดคล้องกับประโยคแรกสินะคนไทยอ่านหนังสือน้อย อ่านแค่ปีละ n บรรทัด
คำถามก็คือ ตัวเราเองสามารถบอกได้หรือเปล่า ว่าอ่านหนังสือ “วันละ” กี่บรรทัด?
ถ้าหากไม่สามารถบอกได้ ก็ไม่ต้องพูดถึงค่าเฉลี่ยประชากรทั้งประเทศในระดับ “ปีละ” เลย
และหากเป็นคำพูดของผู้ที่อำนาจของประเทศยิ่งน่าขำ ที่ผมยังไม่เคยเห็นการรณรงค์อย่างจริงจังให้คนหันมาอ่านหนังสือจากท่านๆ เหล่านั้นกันมากเท่าไร
คนเราชอบเห็นตัวเลข ยิ่งมาแสดงออกเป็นภาพกราฟ (Data Visualize) ยิ่งชัดเจนมาก จนบ่อยครั้งที่เราลืมถึง “ที่มา” หรือวิธีการในการหาตัวเลขนี้มา แล้วอ้างอิงกันอย่างสนุกสนาน โดยมีการพยายามให้คำว่า “คนไทย” หลุดห่างออกไปจากตัวเอง เช่นคนพูดอาจเป็นคนกรุงเทพฯ ชนชั้นกลางขึ้นไป ที่ไม่ใช่ลักษณะแบบคนไทยทั้งประเทศ ฯลฯ
เชื่อว่าท่านผู้อ่าน ที่อ่านข้อเขียนนี้ จะอ่านหนังสือเกินกว่า N (ตัวเลข 1 หลัก) บรรทัด ต่อปีอยู่ไกลเกินไปมาก
และเชื่อว่าคงไม่มีใคร Quote ข้อความที่ดูถูกคนไทยด้วยกันเอง และมั่วข้อมูลแบบนี้
ถ้าเราเชื่อในความเป็น “คน” ของ “คนไทย” นะ
โปรดใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์เรื่องใดเรื่องหนึ่งจนได้ที่มาของตัวเลขอย่างไร้ข้อบกพร่อง (หรืออย่างน้อยที่สุด) ก่อนจะส่งข้อมูลดิบนี้ต่อถึงกันเถอะครับ 😀
โอ้ยยย โดนใจจริงๆครับ ขอบคุณที่เขียนเว็บนี้ ความคิดหลายอย่างๆเราคล้ายกันมาก ทำให้รู้ว่าผมยังมีเพื่อนทางความคิด 555+
@Pkento ด้วยความยินดียิ่งครับ 😀 ว่าแต่มาเจอ blog นี้ได้อย่างไร – -?