หนังสือการ์ตูนการเมือง 3 เล่ม 3 ประเทศที่จะเปิดโลกทรรศน์ผู้อ่านแบบเร่งด่วน

ช่วงนี้ผมได้อ่านหนังสือนิยายภาพหรือที่คนไทยเรียกว่าเป็นหนังสือการ์ตูนแบบติด ๆ กัน 3 เรื่อง คิดว่าเหมาะที่จะเอามาแนะนำกันภายใต้บรรยากาศการเมืองอันมืดมน แต่อาจทำให้ใครหลายคนเห็นว่ายังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

เล่มแรก The Art of Charlie Chan Hock Chye

Delicious_Library.jpg

เป็นการเมืองสิงคโปร์ ผลงานระดับ Masterpiece หนังสือปี 2015 ออกหลังจากการเสียชีวิตของ Lee Kuan Yew แต่ไม่ได้พูดถึงสดุดี เพราะการเขียนอวยมีเยอะแล้ว แต่หนังสือเล่นกับการถามในอีกมุมเพื่อให้ผู้อ่านเห็นอีกด้าน

ผมรู้จักหนังสือนี้จาก The New York Times เมื่อ 3 ปีก่อน แต่กว่าจะได้อ่าน เพราะไปค้นบันทึกที่จดไว้ว่าต้องอ่านเล่นนี้ให้ได้ สรุป amazon มีทั้งแบบปกแข็งและแบบ Kindle ผมอยากได้เป็นเล่ม แต่รออ่านไม่ไหว เลยโหลดมา 13 USD

เล่าเพิ่มอีกนิดว่าผมโดนผู้เขียนแกง เขาเล่นสร้างตัวละครทั้งหมด โดยสร้าง 1-2 คนเพื่อหลอกว่าคนนี่เป็นคนเล่าเรื่อง และเป็นเจ้าของภาพวาดทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้

อ่านจบแล้วจะเห็นรายละเอียดทั้งหมด ว่าคนเดียววาดทั้งหมดนี่ ต้องมีความ autism ซ่อนอยู่อย่างแน่นอน

และที่สำคัญเขาไม่ได้โดนจับ แถมยังได้ทุนบางส่วนจากรัฐบาล ได้อยู่ในสิงคโปร์ตามปกติ บ่งบอกว่าในแง่นี้ สังคมสิงคโปร์ mature กว่าไทยมากๆ

ที่เหลือไม่สปอยเพิ่ม ลองหาอ่านกันครับ

Persepolis จากเปอร์เซียถึงอิหร่าน สงคราม ศาสนา และการดำรงอยู่

 

Delicious_Library

อันนี้เป็นหนังสือที่ดังมากจนได้ทำเป็นหนัง Sony Picture ในปี 2007 ส่วนหนังสือออกเมื่อปี 2000-2004 มีสองเล่ม ปัจจุบันมีแบบรวมเป็นเล่มเดียว

เป็นงานเขียนเล่าเรื่องของชีวิตตัวเอง หรือที่เรียกว่า Memoirs เพราะตัวเอกเกิดในช่วงปี 1970 ตอน 10 ขวบมีการปฏิวัติอิหร่าน จากระบบกษัตริย์ กลายเป็นรัฐศาสนาสุดโต่งแบบ Fundamentalist-Extremist ด้วยพอดีพ่อแม่ตัวเอกเป็นคนชั้นกลางมีความรู้ จึงเลี้ยงลูกแบบเปิดเสรีแต่แรก มันเลยมีจุดขัดแย้งกันเยอะมาก มาจนถึงสงครามระหว่างอิรัค-อิหร่านยาวนานถึง 8 ปีเต็ม เละกันสองฝ่าย คนตายอยู่หลัก 500,000 – 1 ล้านคนต่อฝ่าย

พอดีผมเองอ่านเรื่องพวกนี้มาตั้งแต่เด็ก ทำให้การเจอ Covid-19 แม้จะมีผลกระทบ แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่เด็ก ๆ ไปเลย เมื่อเทียบกับสงครามที่เคยอ่าน

อยากจะเขียนเล่ายาวกว่านี้ แต่คิดว่าให้ลองอ่านกันเองดีกว่า เพราะมีรายละเอียดน่าสนใจเยอะมากจริง ๆ และโดยทั่วไปผมคิดว่าคนไทยเราไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับอิหร่านและโลกอาหรับเลย ด้วยระบบการศึกษาที่แคบเอามาก ๆ ครับ

ตาสว่าง The King of Bangkok

Delicious_Library.jpg

อันนี้เกี่ยวกับการเมืองไทยเต็ม ๆ หนังสือแปลไทยชื่อว่า ‘ตาสว่าง’ แต่ต้นฉบับแรกเป็นภาษาอิตาลีชื่อ Il Re di Bangkok

มาจากงานวิจัยของ Claudio Sopranzetti ที่คลุกคลีกับการเมืองไทยนับสิบปี น่าดีใจที่หนังสือแปลไทยออกมาเร็วกว่าฉบับภาษาอังกฤษที่จะออกกลางปีนี้ แม้ว่าการเป็นคนไทยเราต้องตกเป็นเป้าของการทำ Self-Cencorship อยู่ดี แต่เราก็ต้องอ่านให้ทะลุเซ็นเซอร์โดยไม่ต้องมีตาทิพย์ แต่ต้องมองเห็นครับ

หนังสือเก็บรายละเอียดได้ดีมาก เล่าเรื่องแรงงานชาวอิสานที่ทำมาหลายอาชีพ จนถึงจุดพีคสุด คือการชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553

บางคนอยู่กับสิ่งนี้ บางคนหวาดกลัวพวกเขา
บางคนต้องให้คนต่างชาติมามองจากมุมคนนอก ถึงจะมีคน ’ตาสว่าง’

อ่านหนังสือ Digital ด้วย Remarkable 2 

โปรดแสดงความคิดเห็น Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.