คนทำอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คงมีประสบการณ์กู้ข้อมูลทั้งในระดับส่วนตัวและในการทำงานจริงที่มีความคาดหวังของคนอื่นมาข้องเกี่ยว ซึ่งอย่างหลังนี้ถ้าทำเป็นงานที่ได้เงินจะเรียกว่าระดับอาชีพเลยก็ได้
เนื่องจากมีประสบการณ์จัดการกับข้อมูล ทั้งแบ๊คอัพและกู้คืนมาในทุก Platform ตั้งแต่ Windows, Mac OS ไปจนถึง Linux หรือแม้แต่บน iPhone ก็เคยทำมาหลายครั้ง ช่วงหลังเริ่มรู้จักคนมากขึ้น จากการทำแบบน้ำใจ กลายเป็นธุรกิจเล็กๆ เกี่ยวกับการให้บริการและปรึกษาเกี่ยวกับการทำ Backup ข้อมูล มีกรณีศึกษาล่าสุดกับลูกค้าธุรกิจที่ใช้ Windows Server 2008 R2 เริ่มต้นทำมาตั้งแต่ปี 2009 จนกระทั่งต้องใช้การกู้คืนข้อมูลในปี 2011 (ไม่กี่วันก่อนนี้เอง) เรื่องนี้มาความน่าสนใจนิดหน่อย จึงบันทึกทิ้งเอาไว้เป็นความทรงจำครับ
บ่ายวันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2554
ผู้เขียนได้รับโทรศัพท์จากลูกค้า รับแจ้งเรื่อง Server มีปัญหาระดับเปิดไม่ได้ ให้เข้ามาดูด่วน แต่ตอนนั้นผู้เขียนยังคงอยู่สนามบินเชียงใหม่ กำลังจะบินกลับมากรุงเทพฯพอดีจึงตอบกลับไปว่าจะเข้าไปดูในวันเสาร์แทน พอกลับถึงบ้านผู้เขียนรีบเปิด Remote Desktop เพื่อเช็คทันทีว่าเป็นอะไรมากไหม และพบว่ามันทำงานได้ปกติ
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554
จึงเข้าไปเช็คอย่างสบายใจ แต่กลับพบว่าเครื่องเริ่มแสดงปัญหาให้เห็นเช่น HDD (Harddisk Drive) เริ่มส่งเสียง และเครื่องลูก (Client) เข้าเช็คไฟล์ได้ช้ามากๆ รวมไปถึงการทำ Backup ก็ทำไม่สำเร็จเพราะอ่านไฟล์ไม่ได้ อาการนี้มันชัดว่าปัญหามาจาก HDD เลยคิดจะกู้คืนโดยจะนำข้อมูลล่าสุดที่ Backup สำเร็จคือวันที่ 22 มาแทนที่
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2554
ผู้เขียน เขียนแผนการดำเนินการส่งฝ่าย IT ให้บริษัทลูกค้า เพื่อให้ส่งต่อให้ทุกฝ่ายที่ใช้งานเครื่อง Server ต่อไป
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554
หลังจากแจ้งแผนการทำงานกับทุกฝ่ายแล้ว ก็ทำการเปลี่ยน HDD ใหม่แทนที่ตัวเดิม และดำเนินการนำข้อมูลที่ทำ Backup เอาไว้มาแทน จุดวิกฤติเร่ิมตรงนี้ครับ คือหลังจากบูตเข้าโหมด Repair/Recovery ของ Windows Server 2008 R2 แล้ว ระบบดันเห็นแต่ Backup ที่ทำไว้ตั้งแต่ 2 ปีก่อนแต่ไม่เห็นตัวล่าสุด ทั้งๆ ที่ก่อนจะดำเนินการ ระบบยังแจ้งเองว่าตัวล่าสุดที่มีอยู่คือวันที่ 22ถึงจุดนี้แล้ว ผู้เขียนยอมรับว่าอึ้งไปเล็กน้อย เพราะไว้ใจระบบ Backup ของ Windows Server นี้มาโดยตลอด แต่สุดท้ายกลับเจอไฟล์ 2 วันแรก นั่นก็เท่ากับว่า ที่เราตั้ง Backup ไว้ทุกวันๆ มันไม่มีความหมายอะไรเลยอย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีแผนสำรองอีกหนึ่งแผน เพราะได้ทำการ Backup ไฟล์ทั้ง Server ขึ้น Online ผ่าน Cloud Storage อีกหนึ่งชั้นด้วย แต่วิธีการนี้ขอเลือกใช้ท้ายที่สุด เพราะใช้เวลากู้คืนไฟล์ทั้งหมด 3 วัน และต้องติดตั้งโปรแกรมบัญชีและฐานข้อมูลใหม่ ในขณะที่ความคาดหวังของลูกค้าคือต้องใช้งานมันทันทีผู้เขียนไม่มีทางเลือก เพราะมองหาหนทางไม่ออก เลยตั้งให้ระบบกู้คืนไฟล์ออนไลน์มาก่อน
วันพุทธที่ 28 กันยายน 2554
หลังจากหาวิธีอยู่นาน ผู้เขียนค้นพบว่าระบบไฟล์ Backup ที่ทำไว้นั้น ยังเก็บไฟล์ล่าสุดของวันที่ 22 ไว้อยู่ แต่ที่ระบบหาไม่เจอ อาจเป็นเพราะโครงสร้างมันพังหลังจากพยายามทำ Backup ในวันเสาร์แล้ว Fail ไฟล์ที่ Windows ทำไว้เป็นไฟล์ VHD (Virtual Hard Drive) ลองนำมันมา Mount ดู ก็พบว่าสามารถใช้งานได้ ก็เลยลองหาวิธีตั้งบูทจาก VHD ดู ก็พบว่าเข้า Windows ได้ซึ่งมหัศจรรย์มากๆ
เพียงแต่ว่าการบูตผ่าน VHD เป็นการบูทผ่าน Drive F: ซึ่งเป็น Drive ใหม่ ขณะที่ซอฟต์แวร์บางตัวอย่าง MySQL Server ของ Microsoft นั้นต้องการรันบน Drive C:เราก็แค่หาทางสำเนาไฟล์ใน Drive F: นั้น ไป Drive C: นั้นก็เป็นอันจบครับ ระบบสามารถบูตทำงานได้ปกติ
วิเคราหะ์จุดอ่อนของระบบ Backup บน Windows Server 2008 R2
ทาง Microsoft แนะนำให้ใช้ Harddrive อีกลูกสำหรับทำการ Backup โดยระบบจะไม่ Mount Harddrive ลูกนั้นให้ User ทั่วไปเห็น เป็นเหตุให้ผู้เขียนมองไม่เห็นไฟล์ VHD ตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้นึกไม่ออกว่าทำไม Backup หายไป แต่จริงๆ Backup ไม่ได้หายไป แค่โครงสร้างมันเสียจากการที่ Harddrive ลูกหลักทำท่าว่าจะเสีย ทำให้การเขียนข้อมูลของลูกที่ทำ Backup พังตามไปด้วย แต่ที่มีของ 2 ปีที่แล้วอยู่ เพราะชื่อ Computer มีการเปลี่ยนแปลง ระบบเลยคิดว่าเป็นของคอมพิวเตอร์คนละตัว ที่เราสามารถเรียกได้ว่าจะใช้ตัวไหน พอดีตัวล่าสุดพัง ระบบเลยดึงของปีนั้นมาให้แทน เพราะอยู่อย่างสมบูรณ์
ถ้าเป็น Mac OS นั้น กระบวนการนี้จะง่ายนกว่าอีกมาก โดยเราสามารถ Clone ทั้ง HDD ไปจนถึงระบบ TimeMachine ซึ่งเก็บ Files History เอาไว้ สามารถเลือกย้อนเวลาได้ตามใจชอบหากธุรกิจของคุณ มีข้อมูลสำคัญ การ Backup ควรทำสองชั้นคือทำกันภายใน (Onsite) และทำภายนอก (Online) หรือถ้าเป็นเครื่อง Mobile Computing อย่าง Laptop แล้ว ควรทำแบบ Offsite (เหมือนแบบ Onsite แต่จะสามารถแบ๊คอัพกลับมายังสำนักงานได้ เหมาะสำหรับองค์กรใหญ่ที่จริงจังเรื่องความปลอดภัย ไม่ต้องการใช้ Cloud Storage) ด้วย เพื่อความปลอดภัยครับ
ปรึกษาการทำ Backup และกู้คืนข้อมูลโดยไม่จำกัด Platform ที่ MR.Backup by GROOV หรือโทร 080-201-1234 ตอนนี้รับเพียงแต่กรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้นครับ