การปฏิวัติชนชั้นที่ดีที่สุด ความย้อนแย้งของการปฏิวัติชนชั้น
จากการติดตามอ่านเรื่องราวการปฏิวัติชนชั้นจากที่ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ของโลกมนุษย์มาระยะหนึ่ง ผมค้นพบรายละเอียดและเกร็ดเล็ก ๆ เกร็ดน้อยมาฝาก เป็นบันทึกความทรงจำไปในตัวด้วย คำที่แสลงหู เริ่มที่คำว่า “การปฏิวัติชนชั้น” คำนี้เป็นคำที่ไม่มีอยู่ในช่วงปฐมวัยในโรงเรียนรัฐที่ผมศึกษาเล่าเรียนมา อาจเพราะคำนี้เป็นคำแสลงหู ของชนชั้นผู้เขียนตำราเรียนก็เป็นได้ ต่อมาเมื่อโตขึ้นได้อ่านอะไรหลากหลายขึ้น และอาจเพราะวิธีคิดปฏิวัติชนชั้นมันห่างไกลความเป็นไปได้มากขึ้น คำนี้จึงถูกพบเจอบ่อยขึ้น โดยเป็นการมองย้อนกลับไปในอดีตเกือบทั้งหมด เพราะปัจจุบันไทยเราเป็นระบบเศรษฐกิจตลาดเกือบหมด คนไทยเกือบทั้งหมดนั้นก็อยู่เลยเส้นแบ่งความยากจนของธนาคารโลก (รายได้ที่ 1.25 USD ต่อวัน1) นั่นทำให้แม้สังคมไทยจะมีความเหลื่อมล้ำในระดับที่สูงพอตัว (อันดับ 12 ของโลกจัดลำดับโดย CIA2) แต่ก็เลยจุดที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติชนชั้นมาไกลแล้ว จะมาจุดประเด็นนี้แบบสมัยที่เหมาเจ๋อตุงทำการเดินทางไกลรวบรวมมิตรสหายสู้รบ Long March ก็คงจะไม่ได้การณ์แล้ว ปฏิวัติชนชั้นคือการสับไพ่ จากประวัติศาสตร์ที่หลายท่านก็ทราบดี การปฏิวัติที่ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย หรือแม้แต่ในไทยเอง สุดท้ายมันก็จะกลายเป็นการสับไพ่ใหม่ ฝ่ายมีอำนาจเดิมหมดอำนาจลง (หรือจะกลับมามีอำนาจใหม่) ฝ่ายที่ยึดอำนาจได้ ก็มีกระบวนการแย่งชิงอำนาจกันภายในกลุ่มชนชั้นนำใหม่อยู่ดี ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เห็นกันชัดเจนคือที่จีนปัจจุบัน ความเหลื่อมล้ำแม้ไม่ได้ติดอันดับต้นของโลก แต่ก็มากพอที่จะไม่ควรเรียกตัวเองว่าคอมมิวนิสต์ให้กระดากปากนัก2 หรือจะให้ผมยกตัวอย่างกรณีคลาสสิค คือใน เรือนจำ ที่เรารู้กันว่าต่อให้รวยมาจากไหน ยศฐาบรรดาศักดิ์เดิมคือใคร ในคุกคือโลกใหม่ที่จะถอดทุกอย่างทิ้ง […]
Recent Comments