แนวทางการแก้ปัญหาเสพย์ติด Social Media (Tweetaholic, Facebook Addicts)

จาก Post ที่แล้ว ที่ว่าด้วยการรับรู้ปัญหา ว่าผมเองมีอาการเสพย์ติดอย่างจริงๆ จังๆ เข้าให้แล้ว Post นี้จะมาว่ากันต่อเรื่องแนวทางการแก้ไขครับ ซึ่งพยายามจะคิดในแบบที่ง่ายที่สุดและ Make Sense ที่สุด

  1. เริ่มจากการผลิตก่อน ผลิตให้น้อยที่สุด เพื่อที่เราจะหมกมุ่นอยู่กับมันได้น้อยที่สุด Wired Magazine ฉบับเดือนสิงหา 09 แนะนำไว้คร่าวๆ คือ 20 Tweets ต่อวัน ตัวเลขนี้ไม่มีที่มา แต่หากลองเทียบกับข้อมูลล่าสุดของผม 178 Tweets ใน 24 ชั่วโมง ก็ถือว่ามากกว่ากันเกือบ 900% ดังนันผมจึงขอให้เหลือ 18-20 Tweets ต่อวันก็พอ 
  2. ลดเวลา จำกัดการเสพย์ ส่วนนีถือว่าสำคัญกว่าการผลิตเสียอีก เพราะเวลาส่วนใหญ่ของการใช้ Social Media ขึ้นอยู่กับส่วนนี้เลย แผนคร่าวๆ คือควรจะเปิดใช้งานมันไม่เกิน 3 ครั้ง คือเริ่มที่ 9 โมงเช้า  3 โมงเย็น และปิดท้ายที่ 3 ทุ่ม เวลารวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 40 นาทีต่อวัน รวม Twitter + Facebook ด้วยนะ
  3. ลดจำนวนของ Following ลงไป โดยเน้นที่เราต้องการจะอ่านจริงๆ ก็จะช่วยให้เราอ่านได้อย่างเต็มที่มากขึ้น
  4. ทำการปิด Status อัพเดทไม่ให้แสดงใน Public Timeline การปิดมันทำให้มีโอกาสที่จะมีคนสื่อสารต่อกับเราน้อยลงไป ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราหมกมุ่นได้น้อยลง อย่างน้อยก็เป็นการลดจำนวนอีเมล์ที่คอยแจ้งว่ามีใครคอย Follow เราใหม่บ้าง (ปกติของผมมีวันละ 9-15 ราย แต่จะหายไป 6-7 รายในวันต่อมา เนื่องจากเราไม่ได้ Follow กลับ ลองคิดดูว่าจะช่วยลดปริมาณอีเมล์ได้แค่ไหน ถึงแม้จะเป็นเพียงเมล์่ “ผ่าน” ก็ตาม)
  5. นำซอฟต์แวร์ Client ออกไปให้พ้นตา ถ้ามี Shortcut บนเดสทอปให้ลบออก ถ้ามีบน Dock ให้เอาออก และจะเรียกใช้เมื่อถึงเวลาต้องใช้จริงๆ เท่านั้น

กฏง่ายๆ 5 ข้อนี้ ถ้าไม่ได้นำไปปฏิบัติจริงๆ ก็ไม่มีวันทำได้ วิธีการที่ได้ผลคือการจับเวลาจริง จับการใช้งานจริงๆ โดยปกติในฐานะ Freelancer ผมมีซอฟต์แวร์สำหรับจับเวลาด้วยรูปแบบต่างๆ ไม่น้อยกว่า 3 ตัวอยู่แล้ว และจำทำไปเรื่อยๆ จนกว่าพฤติกรรมเสพย์ติดจะหายไป หรือเลิกใช้ไปเลยก็ยิ่งดี เพราะก่อนหน้าที่จะมี Twitter ก็ใช้ชีวิตอยู่ได้สบายอยู่แล้ว (ดีกว่าอีกต่างหาก)

ถ้าคุณผู้อ่านตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน (เห็นพี่ @norsez แล้วหนึ่งราย) และต้องการเลิก Twitter เหมือนกัน ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ทำได้เช่นกันครับ ส่วนตัวผมนั้นก็ต้องการแรงใจอย่างยิ่งยวด ที่จะทำมันให้ได้เช่นกัน 😀

Twitter & I

ไหนๆ มาสารภาพกันแล้วว่าติด Twitter (หรือ Social Media อื่นๆ) ก็อยากเล่าให้ฟังถึงเบื้องหลังของตัวผู้เขียนเองบ้างว่ามีที่มาอย่างไร 

  • ตั้งแต่เร่ิมทำงานเมื่อ 6-7 ปีก่อน ก็เป็นงานที่มีลักษณะริเริ่มด้วยตัวเอง ไม่มีใครคอยสั่งงาน ดังนั้นเรื่องรับผิดชอบต่อการส่งงาน ต้องบอกว่ามีวินัยในระดับหนึ่งครับ แต่ช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่เอาไหนที่สุด นับตั้งแต่ทำงานมาได้เลย (แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจและการเบื่อในเนื้องานด้วย)
  • เมื่อประมาณ 1-2 ปีก่อน ผู้เขียนเคยนั่งสังเกตการณ์ในร้านอินเตอร์เน็ตบนห้างหรูใจกลางกรุง พบว่าเกือบครึ่ง เปิดหน้า Facebook ค้างไว้เป็นชั่วโมงๆ โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนไปไหน ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งเล่นเกม พฤติกรรมเหล่านี้นั้น ถือว่าห่างไกลจากคนที่ชอบอ่านข่าวเข้าเว็บหลายๆที่อย่างผมมาก โดยที่ไม่ได้คิดว่าเราจะเป็นแบบนั้นในวันหนึ่ง
  • ผมรู้จัก Twitter เมื่อสองปีก่อน หลังจาก Facebook ความรู้สึกแรกคือ มันไร้สาระมาก และใครที่บอกว่าติดมัน คงไร้สาระพอๆ กัน ผมเข้ามาเพียงเพื่อทำความรู้จักกับ “Trend” ใหม่ล่าสุดในตอนนั้นเท่านั้น และใช้มันในแบบที่แย่ที่สุดคือ “จดบันทึกสั้นๆ” (note taking)
  • ผ่านไประยะเวลาหนึ่ง (ครึ่งปี) พบว่า เพื่อนๆในชีวิตจริง เริ่มใช้มันและมา Follow ทำให้ผมเริ่มกลับมาใช้มันอีกครั้ง ส่วนหนึ่งคือเป็นการทดลอง Twitter Client ที่ทำบนแพล๊ตฟอร์ม Adobe AIR ด้วย
  • กลับมาใช้ใหม่ช่วงแรก ทวีตน้อยมาก วันละไม่เกิน 3-4 เท่านั้น และจะรับไม่ได้กับผู้ใช้บางคนที่ทวีตเยอะเกินไป เพราะจะอ่านทั้งหมด ทำให้ต้องเลิกตามหลายคนด้วยเหตุผลเรื่องทวีตอย่างเดียว เพราะส่วนใหญ่ทวีตสิ่งที่เราไม่อยากรับรู้ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งบอกว่าจะเข้าห้องน้ำ การดูทีวี จนไปถึงการบ่นในเรื่องลบต่างๆ 
  • พอเริ่ม Follow คนถึงหลักร้อย เริ่มมีความสนุกมากขึ้น ข่าวสารหลายๆ ข่าวอย่างการไฟไหม้ เครื่่องบินตก ทวิตเตอร์จะมาก่อนสื่ออื่นเสมอ ผู้คนเริ่มทวีิตแต่สิ่งน่าสนใจมากขึ้น
  • เริ่มมีโทรศัพท์ที่สามารถเล่นทวิตเตอร์ได้ เริ่มเสียเงินซื้อ Twitter Client ทั้งที่ตัวฟรีดีๆ ก็มีมากมาย (แต่ลองแล้วไม่โดนใจ)
  • เริ่มอ่านทวีตแทนการอ่านข่าว และโปรแกรมอ่านข่าวถูกเปิดน้อยลงทุกวัน สวนทางกับระยะเวลาบนทวิตเตอร์ที่มีมากขึ้น
  • เริ่มค้นพบศักยภาพในการทำการตลาด หรือการค้นหาสิ่งที่เรากำลังสนใจแบบ Realtime ทำให้หลงคิดว่ามันสำคัญมาก (จากเดิมที่คิดกับมันในแง่ลบ) และค่อยๆ เสพย์ติดแบบกลายเป็นโปรแกรมเดียวที่ใช้บนมือถือ
  • สลับกับช่วงเวลาที่ไม่รู้สึกอยากทวีตอะไรบ้างนานๆ ครั้้ง การได้รู้จักคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน นำพาให้เจอตัวจริงของเพื่อน พี่และน้องอีกหลายท่าน ปัจจุบันกลายเป็นทวิตเตอร์เว็บเดียว แทนที่ทุกอย่าง และเสพย์ติดจนต้องนำสู่การสารภาพ และวางแผนเพื่อเลิกมัน อย่างในโพสต์นี้นี่เอง 😀

5 Comments

  1. เอาใจช่วยครับ กับการ ลด ละ เลิก ทวีต

  2. Werawat Wera

    @PKento ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ ปัจจุบัน ค้นพบแล้วว่าเลิกไม่ได้ แต่ลดมาเหลือ 40 ต่อวัน 😀

  3. โอ้โห เพิ่งได้มาอ่านค่ะ …อ่านแล้วทำให้คิดว่า twitterทำให้เสพติดได้ขนาดนี้จริงๆเลยเหรอ (แต่ไม่กล้าที่จะปรามาสอานุภาพของsocial network หรอกนะคะ …เพราะเกรงว่าเราจะติดอยู่เหมือนกัน 555) แต่ก็ดีนะคะ ที่คุณเขียนได้เห็นภาพและพัฒนาการมากเลยทีเดียว เลยทำให้ตอนเล่นทวิตเตอรร์ตอนนี้ รู้สึกเหมือนกับว่า เหมือนตัวเองกินเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง เข้าไปในปากหนึ่งอึก แล้วกำลังติดใจเหมือนว่าจะยกซดอีกรอบ แต่แล้วก็บังเอิญหันมาเห็นคำเตือนข้างขวดตัวเล็กๆว่า_ห้ามดื่มเกินวันละ2ขวดและโปรดอ่านคำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง… 555…ถ้าทวิตเตอร์เป็นเหมือนเครื่องดื่มชูกำลัง โพสต์อันนี้ก็คงเป็นฉลากคำเตือนแน่ๆ ….ห้ามทวิตเกินวันละ20ทวิต/วัน (เพราะถ้าติดทวิตเตอร์แล้วจะหาว่าเราไม่เตือน 555)อืมม โชคดีนะเนี่ยที่ได้อ่านฉลากคำเตือน ก่อนที่กำลังจะติดทวิตเตอร์พอดี 555

  4. Werawat Wera

    @dokpeep_ อิอิ ยินดีด้วยครับ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคำเตือน 😛

  5. peakallday

    วัยรุ่นสมัยนี้ติดกันงอมแงมจริงๆ ครับ เป็นเพราะสังคมเราทุกวันนี้มีกิจกรรมทางสังคมให้คนกลุ่มนี้น้อยเกินไป สังคมตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ พ่อแม่ก็ไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกๆ เพราะต้องวุ่นอยู่กับการทำมาหากินเพื่อสร้างรายได้มาใช้จ่ายในครอบครัว พอเด็กถูกโดดเดี่ยวก็หันเข้าหาสังคมออนไลน์ซึ่งมีทั้งความสนุกและความสะดวกสบาย และได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ ที่ออนไลน์ด้วยกัน ถ้าจะแก้ปัญหาคงต้องเริ่มที่ผู้ใหญ่ก่อนที่จะหากิจกรรมอะไรให้เด็กทำ จะมาบอกให้เด็กเลิกเล่นคงไม่ได้ผล เพราะถ้าเลิกเล่นแล้วไม่มีอะไรให้พวกเขาทำ ก็จะหันไปหาสังคมออนไลน์เหมือนเดิม
    —– สาระน่ารู้รองเท้าแตะหูหนีบ

โปรดแสดงความคิดเห็น Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.