“ปัจจุบันโลกแบ่งออกเป็นสองขั้วใหญ่ ๆ คือฝ่ายทุนนิยม กับฝ่ายสังคมนิยม”
“พูดง่าย ๆ ก็คือ สองขั้วนี้ต่างกันที่วิธีแบ่งสันปันส่วนของผลผลิตโดยรวม” “เป็นการต่อสู้เพื่อแย่งขิงส่วนแบ่งให้ได้มากกว่าคนอื่น” “แต่ว่านะ… หากอุดมการณ์ของโลกคือ ‘ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน’ ละก็ แบ่งกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยก็ได้นี่นา” “ปัญหาก็คือ ชาวโลกไม่ได้คิดอะไรง่ายๆหยั่งงั้นสิ” “ตรงนี้มีสถิติอยู่มากมาย ราว 244 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์แห่งสปาร์ตา (Sparta) นามว่า อากิสที่ 4 ได้วางแผนการปกครองอย่างมีคุณธรรม ด้วยการยกเลิกหนี้สินของชาวเมือง และแบ่งสันปันส่วนที่ดินเสียใหม่” “ในทำนองเดียวกัน ราว 235 ปีก่อนคริสตกาล คเลโอเมเนส (Kleomenes) ที่ 3 ได้พยายามจัดสรรที่ดินใหม่อีกครั้ง แต่ก็ล้มเหลว… หลังจากนั้นมาประวัติศาสตร์ก็ยังคงจารึกความพยายามเพื่อ ‘ความเสมอภาค’ อีกหลายครั้ง ถึงเจ้าของที่ดินจะพยายามล้มล้างโครงสร้างของผู้มีอันจะกิน แต่มหาเศรษฐีรายใหม่ก็ยังถือกำเนิดขึ้นมาได้เสมอ และแม้จะล้มล้างโครงสร้างของชนชั้นปกครองได้สำเร็จ แต่โครงสร้างของผู้มีอำนาจใหม่ในรูปแบบใหม่ ย่อมเกิดขึ้นมาทดแทน…” “สรุปก็คือ สังคมมนุษย์นั้น ไม่ว่าจะ รีชัฟเฟิล สักที่ครั้งกี่หน… สังคมมนุษย์มักจะรวมตัวขึ้นมาเป็นทรงพิระมิดเสมอ”