หมายเหตุ ข้อเขียนนี้ เขียนโดยผู้ที่พิจารณาว่าตัวเองไม่มีมารยาท เพราะใช้มาตรฐานขั้นต่ำที่สุด คือการพยายามไม่ Offense ผู้อื่น
“มารยาท คือหลักปฏิบัติที่ทำให้ผู้ที่คิดมารยาทนั้น พอใจ”
เป็นวาบความคิดที่นึกขึ้น หลังจากเห็นการโต้แย้งเกี่ยวกับมารยาทของนักการเมืองในการเข้าแข่งขันการโหวต Mr. Twitter โดยฝ่ายที่ไม่พอใจ กล่าวอ้างเรื่องมารยาท ในลักษณะที่ว่าคนที่ไม่ได้ใช้งาน Twitter อย่างจริงจัง (วัดโดยจำนวน tweets) แต่ได้อันดับสูงสุด ขณะที่ปัจจุบันเราจะเห็นว่า Account ของนักการเมืองท่านนั้น มีการใช้งานอย่างจริงจังทุกวันเช่นกัน
แน่นอนว่าข้อความที่ว่า “มารยาท คือหลักปฏิบัติที่ทำให้ผู้ที่คิดมารยาทนั้น พอใจ” นั้นฟังดูสุดโต่ง และไม่เป็นความจริงเสียเท่าไร เพราะมารยาทนั้นไม่ได้ถูกคิดขึ้นมาภายในวันเดียว ด้วยคนเพียงคนเดียว หากแต่ได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติจากคนกลุ่มนั้น ที่ยกมารยาทนั้นขึ้นมา
มารยาทนั้นคลอบคลุมแทบทุกกิจกรรมในการเข้าสังคม (ไม่มีมารยาทของการอยู่คนเดียว) บางส่วนเป็นเรื่องของการให้เกียรติกันและกัน บางส่วนเป็นเรื่องทำให้ถูกใจกัน และบางส่วนก็เป็นเรื่องการสมยอมในอำนาจที่สูงกว่า
ชัดเจนว่าการปฏิบัติตามมารยาทนั้น ไม่ได้ทำให้เราถูกยกย่องเสียเท่าไร แต่ทำให้เราอยู่ในสังคมอย่างปลอดภัยไร้คำครหา นอกจากจะมีตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนจนโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นการไร้มารยาทมากสุดๆ จนถึงการมีมารยาทมากเหลือเกิน!!
ซึ่งในกรณีหลังชวนให้ผู้เขียนนึกถึง นักเรียนมารยาทงาม ผู้ชนะเลิศการประกวดมารยาทดีเด่น บุคคลเหล่านั้น มีลักษณะ Stereotype ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รางวัลนี้ เช่น ไหว้สวยมาก โค้งได้รูปเส้นที่สวย การเคลื่อนไหวช้าๆงดงาม ดูสงบเสงี่ยม (ต่อหน้าอาจารย์) พูดจาสุภาพ เบาๆ และมีหน้าตา บุคคลิกภาพถูกใจผู้มีอำนาจในการให้รางวัลนี้ (ก็คืออาจารย์ประจำชั้นเรียนนั่นเอง)
มีเรื่องขบขันเกี่ยวกับคำว่า “มารยาท” ในภาษาไทย อยู่นิดหน่อย คือเมื่อตัด “ท” ออกไป เราจะเหลือคำว่า “มารยา”
555 ชอบตรง "มีเรื่องขบขันเกี่ยวกับคำว่า "มารยาท" ในภาษาไทย อยู่นิดหน่อย คือเมื่อตัด "ท" ออกไป เราจะเหลือคำว่า "มารยา" "
โอ้ว คุณ @PKento ทำให้ผมต้องมาขุดเอา post ที่น่าสนใจอื่นๆ มาแสดงบน sidebar อีกรอบนะเนี้ย 😛
เขียนได้ดีมาก อ่านหลายบทความแล้วชอบมากๆ
@lolmelol ขอบคุณนะครับ มีกำลังใจจะเขียนขึ้นอีกเรื่อยๆ เลย