เรื่องความใกล้เคียงกันทั้งความหมายและรูปของคำว่า มารยาท กับ มารยา นั้น พอค้นย้อนกลับไป ก็จะเห็นว่าผมไม่ได้สังเกตเรื่องนี้เป็นคนแรก
และจำได้ว่าไม่เคยได้ยินเรื่อง มารยา และ มารยา จากที่ไหนจากใครมาก่อน* โดยที่ก็ไม่ได้ลองค้นมาก่อนว่ามีใครพูดถึงสองคำนี้พร้อมกันบ้าง
วันนี้อ่านมติชนสุดฉบับ September 4-10, 2009** เรื่อง “แล้วเราก็เท่ากัน” เป็นเนื้อหาที่เกียวกับประเดนเผ็ดร้อนทางเพศที่มีเรื่องราวลงหน้าหนึ่งบนหนังสือพิมพ์ยอดนิยมช่วงสัปดาห์ก่อน ขอตัดข้อความสั้นๆ มาดังนี้
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงมันไม่ยาก เพราะเราไม่มีอวัยวะเพศที่จะ “ตุง” ออกมาได้ชัดจนสังคมจับได้ เพียงแต่ใช้กิริยามารยาท (บางคนเรียกว่ามารยา) กลบเกลื่อนความ “หื่น” นั้นเสีย
จริงๆ ประเดนไม่มีอะไรหรอกครับ ก็คงเหมือนกับเวลาที่เราแอบชอบใครซักคน แล้วก็ “คิดเข้าข้างตัวเอง” ว่าคนนั้นจะส่งสัญญาณบางอย่างตอบกลับ
ผมก็แค่แอบดีใจที่ “ขวัญใจ” ของผมคนหนึ่ง เขียนถึงสิ่งที่ผมเองก็พึ่งเขียนถึงไปก่อนหน้านั้นไม่นาน
ในยุคของ Social Media ที่เราสามารถพูดคุยกับท่านนายกทั้งตัวจริง ตัวปลอมได้อย่างง่ายดาย
ในยุคที่นานๆ ทีจะพบคนที่พูดได้ตรงใจกับเราเกือบทุกอย่าง
ผมแค่แอบหวังว่าจะได้คุยกับ “เธอ” ด้วยการสื่อสารตรงๆ แบบมนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่งแค่นั้นเอง 😀
ขยายความ
*โดยส่วนตัวแล้ว คำว่า มารยา ให้ความรู้สึกที่รุนแรง เพราะเคยนำไปใช้แล้วเห็นผลกับตาว่ามันรุนแรงมากแค่ไหน ก็เลยไม่เคยได้หยิบมาใช้อีก จนกระทั่งเขียนข้อความเรื่อง มารยาท Etiquette
**เขียนวันที่เป็นภาษาอังกฤษเพราะระบบที่ใช้ แค่พิมพ์คำว่า “ddate” วันที่ปัจจุบันก็จะขึ้นมาให้อัตโนมัติ