ภาษาไทย = ราชบัณฑิต

จากบทความ “วันภาษาไทยแห่งชาติ” โดย คำ ผกา มติชนสุดฯ August 7, 2009

ปัญหามันอาจไม่ได้อยู่ที่วัยรุ่นหรืออยู่ที่คนใช้ภาษาไทย แต่อยู่ที่ตัวของ “ภาษา” เองที่ดั๊น มามีกฏเกณฑ์ยุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าสามัญชนจะเข้าใจ หรือบางทีเหตุที่มาที่ไปของการสะกดอย่างนี้แต่ไม่สะกดอย่างนั้นอาจจะไม่ได้มาจากหลักเกณฑ์ศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนหรอก แต่มาจากความ “เห็นชอบ” ของกลุ่มบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น “ราชบัณฑิต”

คำถามเดียวกันนี้ผมเคยถามอาจารย์ภาษาไทยตอน ป.3

ก็ใคร-ใคร้-ใคร มาบอกเราว่า ต้องเป็นไอศกรีมนะไม่ใช่ไอสครีม อ้อ แล้วคำว่า “ครีม” เนี้ย เราเรียกมันว่าอะไรในภาษาไทย

ส่วนตัวไม่ได้ซีเรียสเรื่องการวิวัฒน์ (วิบัติ!?) ของภาษาไทย แต่จะพยายามใช้ให้เหมือนกับ “คนส่วนใหญ่” ที่สุด เพื่อเป็น “มารยาท” ในการสื่อสาร อย่างน้อยที่สุดคือเพื่อคนอ่านจะอ่านได้ปกติสุข

ในบทความเดียวกัน ยังยกข้อเขียนของ มูอมัด บิน มูดอ/มกุฏ อรฤดี หัวข้อ “พัฒนาการอ่านในประเทศไทยและการดูงานห้องสมุดสิงคโปร์”

“สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ห้องสมุดแห่งชาติและคนสิงคโปร์ได้เปรียบชาติอื่นก็คือสิงคโปร์ใช้ภาษากลางหรือภาษาสากลของโลก ทั้งอังกฤษ จีน และภาษาอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น มลายู สิงหล ฮินดู ฯลฯ นั่นก็คือ มีหนังสือให้คนสิงคโปร์อ่านไม่ว่าคนนั้นจะอ่านเขียนภาษาใด หนังสือเรื่องสำคัญๆ ทุกยุคสมัย นักเขียนสำคัญของชาติใดก็ตาม นักอ่านสิงคโปร์ู้จักได้ในชั่วข้ามคืนเช่นเดียวกับเจ้าของภาษานั้น เพียงแวะไปที่หอสมุดแห่งชาติหรือห้องสมุดท้องถิ่น”


สอดคล้องกับความคิดของผมอย่างหนึ่ง แต่ด้วยความที่ไม่เคยคิดว่าจะมีลูก เพราะถ้ามีลูก สถานที่แรกที่นึกถึงเพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษาสากลคือเกาะสิงคโปร์อย่างไม่ต้องสงสัย

เพราะ Scale of Economy ในการค้าขายหรือทำมาหากินต่างๆ นั้น เทียบไม่ได้เลยกับการเชี่ยวชาญภาษาไทยแต่เพียงอย่างเดียว

โปรดแสดงความคิดเห็น Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.