ถาม: ทำไมต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3%

ผมเห็นว่ามีคนสงสัยเยอะ และเคยอธิบายไว้นานแล้ว อันนี้อาจลองเขียนซ้ำ เผื่อมีคน Google เจอครับ

ตอบ: รัฐต้องการเก็บภาษีจากรายได้ในทุกทางอยู่แล้ว ปกติบุคคลธรรมดา ต้องจ่ายภาษีรายปี ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องจ่ายภาษี (ประมาณ 240,000 บาทต่อปี ตัวเลขตรวจสอบอีกที) ก็ไม่ต้องเสีย

แต่ที่หัก 3% ก่อน มีเหตุผล 2-3 ประการ คือ

  1. รัฐต้องการเงินมาหมุนในระบบ
  2. รัฐเลือกเก็บจากค่าจ้าง ค่าบริการ ซึ่งประเมินแล้วว่ากำไรสูง ไม่ต่ำกว่า 80% ของรายได้ ถ้ารัฐจะขอแบ่งมาก่อนซัก 3% อาจไม่ทำให้คนจ่ายรู้สึกแย่เกินไปนัก
  3. ทำให้ตอนเสียภาษี ผู้มีรายได้ ไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวน

สังเกตว่าภาษีที่ซ่อนอยู่ในราคาของอย่าง VAT 7% ไม่ถูกประกาศอย่างชัดเจนเหมือนหลายประเทศ เพราะถ้าแยกออกมา เช่น ซื้อของ 100 บาท แต่ต้องจ่ายเพิ่มต่างหากเป็น 107 บาท คนซื้อจะรู้สึกแน่นอน ยิ่งเศรษฐกิจรายได้แบบคนไทยทั่วไป แต่พอบวกรวมๆ ไปแล้ว เป็นค่าของ 107 บาท แล้วค่อยแยก vat จะทำให้ผู้ซื้อรู้สึกน้อยลง

การหักออก 3% ออกจากรายไดัเต็ม รัฐจึงมองว่าทำได้ โดยไม่ให้คนโดนหักรู้สึกระคายเคือง

และถ้ารวมๆ แล้วไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ผู้ถูกหักค่อยไปเรียกเก็บคืนครับ หรือกรณีถึงเกณฑ์ ก็จะทำให้เราไม่ต้องจ่ายเต็ม เพราะผ่อนส่งโดยการถูกหัก 3% ไปก่อนแล้วครับ

โปรดแสดงความคิดเห็น Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.