คราวที่แล้วที่ผมเขียนถึง Cookoo Connected Watch มียอดคนเข้ามาอ่านจำนวนมากในทุกวัน แม้ว่ามันไม่ได้ตีพิมพ์ในนิตยสารเหมือนบทความด้านเสียงอื่นๆ ที่ผมเขียนประจำ แต่ถือว่าคนอ่านรวมกันไม่น้อยกว่าเลย วัดค่าได้อีกด้วยครับ
เกี่ยวกับ Pebble ยอมรับว่าในคราแรกผมเกิดข้อสงสัยหลายอย่าง เริ่มจากคำถามที่ว่า เราต้องการให้มีข้อความมาเตือนเราตลอดเวลาที่ข้อมือ โดยที่มันก็ขึ้นที่มือถือมากจนเรารำคาญแล้วหรือเปล่า? ซึ่งผมจะตอบข้อสงสัยของตัวเองนี้ในข้อเขียนนี้ และอีกอันคือคุณภาพการผลิต ที่หน้าตาเหมือนนาฬิการาคาถูกอื่นๆ ที่ขายกัน 100-200 บาททำให้ไม่อินในตอนที่รู้จักมันครั้งแรก แม้ใจหนึ่งก็คิดอยากจะสั่งจองตั้งแต่ Kickstarter เป็นต้นมาก็ตาม
ผ่านเวลามาระยะหนึ่ง Pebble เปิดขายให้คนทั่วไปซื้อหาง่ายๆ ผมมีไอเดียที่นำมาขายก่อนอยู่แล้ว และยังมีเสียงความสนใจจากลูกค้าจำนวนมากว่าอยากได้ ชั่งใจอยู่พอประมาณ จึงนำมาลองใช้เองดู ส่วนหนึ่งคือเห็นการเปิดตัว SDK และ Firmware ตัวใหม่ และการใช้งานร่วมกับ iOS7 ที่จะทำให้มันเตือนทุกข้อความที่แสดงบนโทรศัพท์ (อีกครั้ง! ผมยังสงสัยว่าผมจะไม่รำคาญมันหรือเปล่า?)
เริ่มต้นใช้
ตอนที่ได้ใช้ใหม่ๆ ความประทับใจแรก มีอยู่สองสามประการครับ อย่างแรกคือการเปลี่ยนหน้าปัดนาฬิกาหรือที่ทาง Pebble เรียกว่า Watchface ได้ ซึ่งรูปแบบนี้ผมเจอมากับ iPod Nano ที่ใช้แทนนาฬิกาตั้งแต่ 2 ปีก่อน แต่ที่มันดีกว่า iPod Nano ในเรื่องนี้คือการที่หน้าปัดมันแสดงตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องกดดูให้เสียเวลา ถ้าอยากให้มีไฟดูในที่มืดให้สะบัดข้อมือ หรือกดปุ่มเพื่อดูได้ ก็สะดวกกว่าเยอะ สรุปคือตอบโจทย์ที่ผมต้องการมาก แม้ว่าหน้าจอจะไม่คมชัดเหมือนจอ Retina ที่คุ้นเคยบน iPhone ขนาดของ Pebble คือ 144 × 168 pixels ทำให้หน้าปัดบางอันที่พยายามจะใส่รายละเอียดแบบ Analog Watch จะดูไม่สมจริง แต่หน้าปัดอื่นๆ ที่เป็นแนว Minimal/Digitalเรียบง่าย สวยงาม ซึ่งผมชอบแนวทางนี้มากกว่า ได้ใจผมไปเต็ม ๆ
iPod Nano ยังมีแบตเตอรี่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบต่อพลังงานที่ใช้ ซึ่งสมัยที่ผมใช้ฟังเพลงด้วย 1-2 วันก็หมดแล้วซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ Pebble ออกแบบมาให้ใช้ประมาณ 4-5 วันในการชาร์จรอบหนึ่ง ซึ่งถือว่าฟังก์ชันนาฬิกาสอบผ่าน เพราะเอามาใช้ดูเวลาได้ยามที่ต้องการจริงๆ
ในแง่ของแบตเตอรี่ของ Pebble ที่มีความจุ 130 mAh ซึ่งถือว่าพอเพียงกับพลังงานที่ใช้ เพราะจอ ePaper กินไฟน้อยมาก แต่ทางด้านการใช้งาน ณ ปัจจุบัน เราไม่สามารถดูปริมาณแบตที่มีอยู่ได้ แต่จะเห็นก็ต่อเมื่อแบตใกล้จะหมด ซึ่งจะมีสัญลักษณ์เตือน แต่ช่วงใช้ใหม่ๆ ยังไม่รู้ว่าอะไร ทำให้พอไปหมดตอนออกจากบ้านอยู่ 1-2 ครั้ง ในด้านนี้ผมปรารถนาที่จะดูพลังงานที่เหลืออยู่เพื่อเตรียมการมากกว่า อย่างน้อยๆ สามารถกดเข้าไปดูได้ เข้าใจว่าทางผู้ผลิตไม่อยากให้เราหมกมุ่นกับพลังงาน เพื่อให้ใช้งานมันเป็นหลักและผู้อ่านคงจะเข้าใจดีกว่า การมีนาฬิกาตายอยู่บนข้อมือมันให้ความรู้สีกตะขิดตะขวงใจอย่างไร
เรื่องนี้ผมแก้ปัญหาโดยจะชาร์จทุก 3 วันโดยไม่รอสัญลักษณ์เตือน เพื่อให้นาฬิกาผมมีพลังงานใช้ในทุกวันครับ
Update: ล่าสุดเริ่มมีแอปบน Pebble ที่แจ้ง Status ของ Battery ได้แล้วครับ เช่น SmartStatus
Watchface / App
3 อย่างที่กล่าวมาน่าจะเป็นตัวหลักที่ทำให้ Pebble โดดเด่นเหนือใครจริงๆ Watchface นั้นประทับใจมาก อย่างที่กล่าวไปแล้ว เพราะมนุษย์ขี้เบื่อทุกคนจะสามารถเปลี่ยนหน้าปัดไปได้เรื่อยๆ ส่วนตัวที่ชอบมีตามนี้ครับ
- Dotz จำลอง LED Array เท่มาก ๆ
- Wordclock บอกเวลาเป็นคำ ซึ่งผมใช้บ่อยที่สุด
- Futura Weather บอกเวลา วัน พร้อมอุณหภูมิ มีอยู่วันนึงที่กรุงเทพอากาศหนาววันแรก ผมหยิบ Pebble ขึ้นมาพร้อมเห็นอุณณหภูมิ 22 องศา เป็นสิ่งที่กรี๊ดเลย
- Bittime เป็นหน้าปัดที่แนวมาก ที่กว่าจะดูเวลาได้ต้องใช้การคำนวณจากเลขฐานสอง ใช้ไปนานๆ แล้วจะชินเอง 55+
ในอนาคตคาดว่าจะมีโดนๆ มาอีกแน่ และมีแผนที่จะออกแบบของตัวเองอีกด้วย ปัจจุบันนี้มีให้เลือกนับหมื่นหน้าปัด คงใช้กันหายเบื่อไปเลยครับ
เกี่ยวกับ Watchface มันจะมีเว็บที่ให้เราเข้าไปออกแบบหน้าปัดเองได้ ซึ่งผมใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ได้แบบของตัวเองด้วย
มาพูดถึงแอปบ้าง หลังจากที่ผมใช้ไป 3 เดือนทาง Pebble ได้ออก Firmware 2 ที่สามารถติดตั้งแอปมากมายที่ใช้เพื่องานต่างๆ อยู่เพียบ ตั้งแต่ช่วยออกกำลังกายไปจนถึง Foursqure Checkin
ที่มีอยู่ตอนนี้ ผมพบว่ามันตอบโจทย์เบื้องต้นแล้ว อย่างเช่น Runtastic พอผมเปิดแอป Runtastic บน iPhone เพื่อเตรียมออกกำลังกายแค่นั้น Pebble รู้ดี เปลี่ยนหน้าปัดเป็นหน้าบอกเวลา ระยะทาง ความเร็ว ทันที! เพลิดเพลินมาก วิ่งไปพลาง ถึงจุดนึงก็เหลือบมองนาฬิกาตัวเอง แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครเพลินจนมองมันตลอดเวลาแน่ 😛
อีกแอปหนึ่งคือตัวนับหรือ Counter ครับ ผมใส่ Cookoo Watch ว่ายน้ำเพื่อดูเวลา พอรู้ว่า Pebble มีแอปง่ายๆ แบบนี้จึงลองดูบ้าง ปรากฏว่าตอบโจทย์เลย เพราะผมต้องการนับรอบว่าว่ายไปกี่รอบแล้ว เพื่อเอามาบันทึกในทุกครั้ง
แค่ Runtastic กับ Counter ในเบื้องต้นก็ตอบโจทย์ผมมากแล้ว การมาของแอปในอนาคตทำให้เรารู้สึกดีที่ได้ใช้นาฬิกาที่มีอนาคตรอแบบนี้ครับ
Notification
ช่วงที่ได้มาใหม่ Pebble ของผมทำได้แค่บอกเวลามี Call Notification กับ SMS ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่ามันพอแล้ว และมันสะดวกจริงครับ เพราะตอนขับรถ บางทีโทรศัพท์วางไว้ข้างๆ ผมก็รู้ทันทีว่าใครโทรมา และสามารถกดรับจาก Pebble เลยได้ เวลาเล่าให้ใครฟัง เกือบทุกคนจะถามว่า แล้วคุยผ่านนาฬิกาเลยได้ไหม?
ซึ่งถ้าเป็นของ Samsung ทำได้ แต่ Pebble ทำยังไม่ได้ เข้าใจว่าต้องการให้กันน้ำได้ 5 เมตร เลยไม่สามารถใส่ไมโครโฟนให้ใช้งานได้ และถึงใช้ได้ ผมคงไม่แฟนซีมากพอจะกลับไปทำท่าเหมือนหนังยอดมนุษย์ที่พูดกับนาฬิกาเพื่อบอกว่า “แปลงร่าง!!” แน่ๆ
สรุป ใช้นาฬิกากดรับสายหรือปฏิเสธสายได้ครับ ในการคุยอาจใส่หูฟังคุยแทน ซึ่งสะดวกมาก เวลาขับรถ
หลังจากใช้ไปพักใหญ่ Pebble มีการอัพเดทให้ดู Notification ทุกอย่างใน iOS 7 ได้ซึ่งผมก็อัพเดท แต่ยังปิดการใช้ เพราะคิดว่ารำคาญ และเพราะมันยังอ่านภาษาไทยไม่ได้
แต่พอลองอัพเดทภาษาไทย แล้วลองเปิดใช้ดู แรกๆ คือเพื่อทดสอบภาษาไทย แต่ใช้ไปๆ กลับพบว่ามันสะดวกมากๆ เพราะมันมีโอกาสที่หลายครั้งผมเดินอยู่ แล้วโทรศัพท์อยู่ในกระเป๋า ขณะที่ลูกค้าส่ง Message มา ไม่ว่าจะทาง SMS/Line/Facebook/Email ผมสามารถที่จะอ่านมันได้เบื้องต้น โดยไม่ต้องควักโทรศัพท์มา หรือแม้แต่ตอนขับรถ นี่คือความสะดวกมาก เพราะส่วนตัวผมเองก็ต้องการความไวในการตอบกลับเช่นกัน ใช้ไปใช้มา มันกลายเป็นความจำเป็นในระดับที่ว่า หาก pebble ผมเสียหรือหายไปวันนี้ ผมจะแกะกล่องใหม่ หรือสั่งเข้ามาใช้ใหม่ทันที มันเป็น Gadget จำเป็นตัวใหม่ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้คิดว่ามันจำเป็นในแต่แรกเลยครับ
Pebble Watch สั่งซื้อได้ที่ GROOV Store
สำหรับวิธีการลงภาษาไทยใน Pebble