นายสมชัยอยากเป็นนายทหาร

นายสมชัย สมัครเป็นนายทหารด้วยความรู้สึกรักชาติ อยากเสียสละปกป้องผลประโยชน์ของชาติและอธิปไตย (Militarism) พ่อแม่ของนายสมชัย มีความยินดีที่ลูกได้เป็นนายทหาร ได้เป็นเจ้าคนนายคน (Feudalism) แต่นายสมชัยก็โตมาในสิ่งแวดล้อมแบบทุน ชอบใช้ของดี ๆ เพื่อความสุขส่วนตัว และรักความสะดวกสบายในชีวิตสมัยใหม่ (Individualism) วันหนึ่ง UN เรียกใช้งานทหารไทยในการรบที่อิรัก นายสมชัยร่วมรบกับกองทัพไทยและ UN ในประเทศอื่นนอกเขตแดน (Imperialism) แต่ UN ก็ไม่ได้เรียกไปฟรี ๆ มีค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงที่ดีกว่าเงินเดือนมากนัก นายสมชัยยินดี เพราะจะได้นำเงินไปซื้อของใหม่ ๆ ที่อยากได้มานาน และดูแลพ่อแม่ ลูกเมียให้อยู่ดีกินดี (Capitalism) วันหนึ่ง นายสมชัยประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต จากการยิงพวกเดียวกันเองที่อิรัก ถามว่านายสมชัยเคยมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร? ภาพประกอบจาก OKNation

การปฏิวัติชนชั้นที่ดีที่สุด ความย้อนแย้งของการปฏิวัติชนชั้น

จากการติดตามอ่านเรื่องราวการปฏิวัติชนชั้นจากที่ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ของโลกมนุษย์มาระยะหนึ่ง ผมค้นพบรายละเอียดและเกร็ดเล็ก ๆ เกร็ดน้อยมาฝาก เป็นบันทึกความทรงจำไปในตัวด้วย คำที่แสลงหู เริ่มที่คำว่า “การปฏิวัติชนชั้น” คำนี้เป็นคำที่ไม่มีอยู่ในช่วงปฐมวัยในโรงเรียนรัฐที่ผมศึกษาเล่าเรียนมา อาจเพราะคำนี้เป็นคำแสลงหู ของชนชั้นผู้เขียนตำราเรียนก็เป็นได้ ต่อมาเมื่อโตขึ้นได้อ่านอะไรหลากหลายขึ้น และอาจเพราะวิธีคิดปฏิวัติชนชั้นมันห่างไกลความเป็นไปได้มากขึ้น คำนี้จึงถูกพบเจอบ่อยขึ้น โดยเป็นการมองย้อนกลับไปในอดีตเกือบทั้งหมด เพราะปัจจุบันไทยเราเป็นระบบเศรษฐกิจตลาดเกือบหมด คนไทยเกือบทั้งหมดนั้นก็อยู่เลยเส้นแบ่งความยากจนของธนาคารโลก (รายได้ที่ 1.25 USD ต่อวัน1) นั่นทำให้แม้สังคมไทยจะมีความเหลื่อมล้ำในระดับที่สูงพอตัว (อันดับ 12 ของโลกจัดลำดับโดย CIA2) แต่ก็เลยจุดที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติชนชั้นมาไกลแล้ว จะมาจุดประเด็นนี้แบบสมัยที่เหมาเจ๋อตุงทำการเดินทางไกลรวบรวมมิตรสหายสู้รบ Long March ก็คงจะไม่ได้การณ์แล้ว ปฏิวัติชนชั้นคือการสับไพ่ จากประวัติศาสตร์ที่หลายท่านก็ทราบดี การปฏิวัติที่ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย หรือแม้แต่ในไทยเอง สุดท้ายมันก็จะกลายเป็นการสับไพ่ใหม่ ฝ่ายมีอำนาจเดิมหมดอำนาจลง (หรือจะกลับมามีอำนาจใหม่) ฝ่ายที่ยึดอำนาจได้ ก็มีกระบวนการแย่งชิงอำนาจกันภายในกลุ่มชนชั้นนำใหม่อยู่ดี ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เห็นกันชัดเจนคือที่จีนปัจจุบัน ความเหลื่อมล้ำแม้ไม่ได้ติดอันดับต้นของโลก แต่ก็มากพอที่จะไม่ควรเรียกตัวเองว่าคอมมิวนิสต์ให้กระดากปากนัก2 หรือจะให้ผมยกตัวอย่างกรณีคลาสสิค คือใน เรือนจำ ที่เรารู้กันว่าต่อให้รวยมาจากไหน ยศฐาบรรดาศักดิ์เดิมคือใคร ในคุกคือโลกใหม่ที่จะถอดทุกอย่างทิ้ง […]

Big Data

เพิ่งอ่าน Big Data (Mayer-Shönberger, 2013) จบ แต่เป็นลักษณะย่อเอาใจความสำคัญมา ซึ่งแบบนี้ผมว่าคุ้มค่าต่อการอ่านแบบเนื้อ ๆ เนื้อหาน่าสนใจดีครับ ตรงที่ว่า Big Data เหมือนมหาสมุทรที่รอคอยการที่เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ แต่จะทำแบบนั้น นอกจากมีเครื่องมือแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือชุดความคิดที่ถูกต้อง (the right mindset) ในการดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกมา แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าจะดึงอย่างไรในตอนนี้ ในวันนึงข้างหน้าเราหรือคนอื่น ๆ ก็อาจค้นพบวิธีในการดึงเอาข้อมูลที่สนใจ มีประโยชน์ ตั้งแต่เรื่องการระบุตัวตน (Identify) เช่นมีกรณีที่เว็บสำนักข่าวเปิดเผยข้อมูลจำนวนมาก แล้วมีอีกหน่วยงานสามารถเข้าไประบุตัวตนว่า ข้อมูลส่วนนี้มาจากผู้ใช้คนนี้

ความเห็นหลังจากลองใช้นาฬิกา Pebble Smartwatch 6 เดือน

คราวที่แล้วที่ผมเขียนถึง Cookoo Connected Watch มียอดคนเข้ามาอ่านจำนวนมากในทุกวัน แม้ว่ามันไม่ได้ตีพิมพ์ในนิตยสารเหมือนบทความด้านเสียงอื่นๆ ที่ผมเขียนประจำ แต่ถือว่าคนอ่านรวมกันไม่น้อยกว่าเลย วัดค่าได้อีกด้วยครับ เกี่ยวกับ Pebble ยอมรับว่าในคราแรกผมเกิดข้อสงสัยหลายอย่าง เริ่มจากคำถามที่ว่า เราต้องการให้มีข้อความมาเตือนเราตลอดเวลาที่ข้อมือ โดยที่มันก็ขึ้นที่มือถือมากจนเรารำคาญแล้วหรือเปล่า? ซึ่งผมจะตอบข้อสงสัยของตัวเองนี้ในข้อเขียนนี้ และอีกอันคือคุณภาพการผลิต ที่หน้าตาเหมือนนาฬิการาคาถูกอื่นๆ ที่ขายกัน 100-200 บาททำให้ไม่อินในตอนที่รู้จักมันครั้งแรก แม้ใจหนึ่งก็คิดอยากจะสั่งจองตั้งแต่ Kickstarter เป็นต้นมาก็ตาม ผ่านเวลามาระยะหนึ่ง Pebble เปิดขายให้คนทั่วไปซื้อหาง่ายๆ ผมมีไอเดียที่นำมาขายก่อนอยู่แล้ว และยังมีเสียงความสนใจจากลูกค้าจำนวนมากว่าอยากได้ ชั่งใจอยู่พอประมาณ จึงนำมาลองใช้เองดู ส่วนหนึ่งคือเห็นการเปิดตัว SDK และ Firmware ตัวใหม่ และการใช้งานร่วมกับ iOS7 ที่จะทำให้มันเตือนทุกข้อความที่แสดงบนโทรศัพท์ (อีกครั้ง! ผมยังสงสัยว่าผมจะไม่รำคาญมันหรือเปล่า?) เริ่มต้นใช้ ตอนที่ได้ใช้ใหม่ๆ ความประทับใจแรก มีอยู่สองสามประการครับ อย่างแรกคือการเปลี่ยนหน้าปัดนาฬิกาหรือที่ทาง Pebble เรียกว่า Watchface ได้ ซึ่งรูปแบบนี้ผมเจอมากับ iPod Nano ที่ใช้แทนนาฬิกาตั้งแต่ 2 […]

ลองใช้ Just Mobile AluBolt™ ครั้งแรก

ชอบมาก อยากหา iPhone Dock มาตั้งแต่ใช้ iPhone 3G/3Gs ได้ละ แต่เพราะราคาต่อคุณภาพของ Apple และจังหวะหลายๆ อย่างไม่ถูกใจ (เคยซื้อ Dock ของ Apple ตอน iPad ออกใหม่ ก็พอใช้ได้นะ แต่ราคาไม่คุ้มเท่า Stand อย่างอื่น กรณีของ iPad) ผ่านมาเกือบ 6 ปี นับตั้งแต่มี iPhone ครั้งแรก ที่เรามี Dock เป็นของตัวเองเสียที ข้อดี สวย เป็น iconic design วางบนโต๊ะเด่นเลย วัสดุทนทาน น่าจะอยู่กับไอโฟนหลายรุ่น 4-5 ปีอย่างต่ำ ข้อด้อย ไอโฟนหรือไอแพดมินิ ใส่เคสทั่วไปไม่ได้ ต้องเป็นเคสเปิดท้าย เท่าที่เห็นก็มีแต่ Just Mobile ที่ทำเคสแบบนี้ ไอแพดใหญ่ / แอร์ […]

เรื่องเล่าวัยเด็ก 1 : การอ่านหนังสือ (คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่อยากให้ลูกหลานชอบอ่านหนังสือ)

ภาพประกอบจาก Link คุณพ่อของผม ท่านให้ความสำคัญกับการอ่านมาก ผมเชื่อว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่รู้หรอก ว่าทำไมต้องอ่านหนังสือ โดยไม่นับว่าผมคือเด็กรุ่น Video Game Generation คือ (เกือบจะ) เกิดมาพร้อมกับวิดีโอเกมเลย จำความได้ว่าตอนที่เห็นการต่อเครื่องเกมเข้ากับทีวีเพื่อที่จะเล่นเกมครั้งแรก ตอนประมาณ 5 ขวบได้ มันเป็นความรู้สึกที่มหัศจรรย์มาก เพราะผมโตมาจากยุคที่ไม่รู้ว่าทีวีทำแบบนี้ได้มาก่อน ลองจินตนาการถึงเด็กที่เกิดมาแล้วเห็น iPad พวกเขาจะไม่ประหลาดใจหรือสงสัยว่ามันทำอะไรแบบนั้นได้อย่างไร เพราะมันเห็นมาตั้งแต่เกิด (Pre-Conceive) เด็กรุ่นวิดีโอเกม เราคงไม่คาดหวังว่าพวกเขาจะเสพติดการอ่านได้อย่างไร จริงไหมครับ วิธีการในความพยายามล่อลวงให้ผมและน้องชายอีกคนอ่านหนังสือของพ่อคือ บ่ายวันเสาร์ พ่อจะให้เงินไปเล่นเกม ในข้ออ้างว่า ‘พักผ่อนสมอง’ โดยมีข้อผูกมัดว่าพรุ่งนี้จะได้อ่านหนังสือ ท่านผู้อ่านคงพอเดาได้ว่า วิธีแบบนี้ไม่ได้ผล ผมไปเล่นเกมจริง แต่วันต่อมาก็ไปเล่นอย่างอื่นตามประสาเด็ก ส่วนคุณแม่ผม มักจะชอบยกตัวอย่างพี่บ้านตรงข้าม ที่นอกจากจะเรียนเก่งแล้ว เสาร์ อาทิตย์ยังเอาหนังสือมาเปิดอ่านหน้าบ้านให้แม่ผมเห็น จนแม่ผมต้องเอามาเล่าให้ผมฟัง ส่วนผมฟังแล้วก็ก้มหน้าก้มตากดเกมบอยต่อ เพราะความสนุกต่างกันมาก อย่างที่คุณก็เดาได้ ผ่านเวลามาสิบกว่าปี ทุกวันนี้ผมเข้าร้านหนังสือและซื้อหนังสือมาใหม่แทบทุกสัปดาห์ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือต่างประเทศภาษาอังกฤษ เหตุผลหลักคือหนังสือไทยมีเนื้อหาหลากหลายน้อย แต่ที่น่าสนใจก็มีบ้าง แต่เทียบไม่ได้เลยกับภาษาอังกฤษที่ตลาดคนอ่านใหญ่กว่ามากนัก ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า ถ้าแม่รู้ว่า 10 […]

Whether or not to debate.

When fighting arguments, think twice, not because you have to craving your statements but fight only what worth for you. Thank God, most of the time, it’s not.

Writing a private journal is time consumed but worth it.

Writing a private journal seems to be time consumed both on writing and reading. You may write a bit of information or feeling so many times a day then one day you may digging deep down into what you have written for years. Stuff like that you enjoy reading it again so much enough, that […]

3ขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับภาษาไทยใน Pebble Watch

เหตุผลด้านความจุของนาฬิกา ทำให้ Pebble Smartwatch ไม่ได้มีความ Smart ระดับที่เข้าใจหรือแสดงทุกภาษาในโลก อย่างที่เราเห็นในกลุ่ม Smartphone แต่กระนั้น มันก็มีเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำเฟิร์มแวร์ (Firmware) ใช้เองไม่ยากนัก เมื่อนักพัฒนากลุ่มหนึ่ง เปิดเครื่องมือง่ายๆ บนเว็บให้เราทำเองได้โดยไม่กี่ขั้นตอน ชื่อ pebblebits.com