ความหมายของ Media Literacy และ Procedure Literacy

 

ช่วงนี้อ่านหนังสือค่อนข้างเยอะและกว้าง ตั้งแต่เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ไปจนถึงเรื่องที่ค่อนข้างสุดขอบอย่างการมองว่า Coding เป็น Creative Expression อย่างหนึ่ง (คนที่เรียนมาเหมือนกันกับผม ค่อนข้างเชื่อว่าจะมองแต่ Coding ในเชิงฟังก์ชันอย่างเดียว เป็นส่วนใหญ่)


เจอศัพท์ที่น่าสนใจสองคำ ตามหัวข้อครับ เลยขอลงบันทึกไว้เป็นความทรงจำดีๆ 


คำว่า Literacy (การรู้หนังสือ อ่านออก เขียนได้) มีความสำคัญทางประชากรศาสตร์ (Demographic) เพราะสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับการพัฒนาคนและสังคม 


Media Literacy จึงหมายถึงการรู้สื่อ ผลิตสื่อ และอ่านความหมายของสื่อได้ ซึ่งในที่นี่คือยิ่งเก่งมาก ก็ยิ่งมองสื่อทะลุปรุโปร่งมากเท่านั้น เช่นถ้าสื่อกำลังทำโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) แล้วเราสามารถมองออกว่าทำอย่างไร วิธีดีใด ส่งผลต่อจิตใจและความคิดผู้รับสารอย่างไร ก็นับว่าเราอ่านสื่อออกมาก 


ทักษะประเภทนี้คงจะชี้วัดได้ยากนะครับ แต่หากเราจะทดสอบทักษะด้าน Media Literacy ผู้เขียนเห็นว่ามีทางเดียวคือในด้าน “การผลิต” เพราะเป็นสามัญสำนึกว่าถ้าเราสร้างสิ่งๆ หนึ่งขึ้นมาได้ นั่นหมายความว่าเรามีมุมมอง ความเข้าใจและการรับรู้ถึงสิ่งๆ นั้นมากพอที่จะทำออกมาได้ดี 


Procedure Literacy คือทักษะการอ่านและสร้าง “กระบวนการ” กับเครื่องจักร (Machine) อาจฟังดู งง สำหรับบางท่าน แต่ลองให้นึกถึงการที่เราใช้งานเครื่อง ATM หรือไมโครเวฟ ถ้าเรามีประสบการณ์ระดับหนึ่ง เราจะสามารถ “อ่าน” กระบวนการนี้ และไม่ว่าจะเป็นเครื่องลักษณะเดียวกันแบบไหนก็ตาม


จุดเริ่มต้นของการมองหาคำนี้ ผู้เขียนเจอ “Programming Literacy” มาก่อนครับ ซึ่งก็หมายถึงการที่เราสามารถอ่าน Code ภาษาต่างๆ ได้เข้าใจ ตั้งแต่ภาษาเครื่อง (Assembly) ไปจนถึงภาษาที่ระดับสูงกว่า (ง่ายขึ้น) อย่าง C++ ไปจนถึง Basic และ Logo โน้นเลย ทีนี้เราเลยเห็นว่าจะ Programming Literacy หรือ Procedure Literacy มันก็คือเรื่องเดียวกันคือ Human-Machine Interaction Literacy


บุคคลที่มีทักษะประเภทนี้สูง จะใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรกลอย่างคล่อง แม้ว่าจะมีซอฟต์แวร์ใหม่ๆ มีหน้าตาใหม่ๆ พวกเขาจะทำได้ไม่ยาก และพวกเขายังสามารถออกแบบ “กระบวนการ” ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนและเครื่องจักรได้ดี


คนกลุ่มนี้คือเป้าหมายเวลาที่นักพัฒนากลุ่มหนึ่งทำ Beta Test หรือ Product บางประเภทที่มีแนวคิดใหม่ ที่ต้องการลูกค้าในกลุ่มที่นักการตลาดเรียกว่า “Early Adoter” และระดับทักษะของเรื่องนี้มีความสัมพันธ์ตรงกับ “ความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอล” (Digital Devided) 


ผู้เขียนนึกสนุก เลยนั่งนึกระดับทักษะของ Procedure ยิ่งสูง ยิ่งเก่งดังนี้


1. ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ User Friendly เช่น ตู้ ATM เตาอบไมโครเวฟ ฯลฯ ไปจนถึง iPad และมือถือที่ใช้งานง่ายๆ icon based

1.5 เครื่องไฟฟ้าที่ชวน งง ขึ้นมาหน่อย เช่น รีโมททีวี และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรที่มีการตั้งค่า (Programming) 


2. คอมพิวเตอร์ในระบบกราฟฟิก

2.5 คอมพิวเตอร์ในระบบ Text Mode


3. การเขียนโค้ดหรือสคริปที่เข้าใจไม่ยากนัก เช่นตระกูล XML หรือ Logo ถึง Visual Basic ฯลฯ

3.5 สคริปที่สูงขึ้นมาหน่อย PHP, Javascript, Ruby ฯลฯ ไปจนถึงตระกูล Visual Programming เช่น vvvv, max/msp 


4. เขียนโปรแกรมเต็มรูปแบบ (Full Computer Programming) เช่น C++, Objective-C ฯลฯ

4.5 ภาษาเครือง (Assembly)


5. [Controversial] ระดับที่เจาะความปลอดภัยและป้องกันความปลอดภัยได้ (Hackers & Securities) 


คิดกันสนุกๆ นะครับ ผู้เขียนเข้าใจว่าที่ลิสต์มายังมีส่วนที่คาบเกี่ยว (Overlapped) เช่นเราสามารถใช้ PHP, Javascript, Ruby หรือเครื่องมือในข้อ 3 และ 3.5 เขียน Web App ที่ทำงานเหมือนกับข้อ 4 ได้เช่นกัน

 

โปรดแสดงความคิดเห็น Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.