บันทึกการเดินทางกัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย
-
สนามบินไกลจากตัวเมืองมาก นั่งรถบัสของ AirAsia จาก Low Cost Courier Terminal ที่ก็ใหญ่มาก และแยกออกมาจาก KLIA (Kuala Lumper International Airport) ราคา 9 RM (1 RM ประมาณ 10 บาท) หลับไปพักใหญ่ๆ ตื่นมาถึงพอดี
-
ถนนหนทางดีกว่าไทยมาก และต้นไม้เยอะเทียบเท่าสิงคโปร์ เว้นเขตเมืองที่แน่นจริงๆ เหมือนกรุงเทพ
-
สกปรกมาก เห็นคนที่นี่ทิ้งขยะลงที่สาธารณะกับตามากกว่า 1 ครั้ง
-
แออัดมาก เห็นคนขับรถชนกับตา 2 ครั้ง แต่เป็นการชนเบาๆ ไม่ใช่อุบัติเหตุร้ายแรง
-
แต่คนใจดีครับ ทุกคนให้ข้อมูลเราหมด แม้จะไม่ได้ขายของกับเรา หรือพลเมืองสาวรายหนึ่ง พาผมไปส่งยังห้างใกล้ๆ เธอบอกว่าทางเธอผ่านพอดี ซึ้งในน้ำใจมากๆ
-
ระบบ Public Transport นั้น ถือว่าครอบคลุม และหลากหลายเกินไปจนแม้แต่ Google Map ยังไม่สนับสนุน
-
ที่ว่าหลากหลาย คือมีรถไฟหลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบธรรมดา Monorail หรือแบบ Metro ที่คนกรุงบ้านเราคุ้นเคย ผมได้ลองใช้รถไฟธรรมดู ใช้ง่ายกว่ารถไฟไทย มีแผนที่แสดงเหมือน Metro ที่อื่น แต่ขาดคนคอยให้ภาษาเสียงว่าถึงสถานีไหนแล้ว เรียกว่าทิ้งคนพิการทางสายตาไปเลย
-
รถเมล์ก็ใช้ยาก มีหลายผู้ให้บริการ และที่ป้ายไม่มีบอกว่าสายไหนไปไหน ที่แย่กว่าคือแม้แต่ Google Map ก็ไม่มีข้อมูลรถเมล์
-
ไปรอบหน้าสาบานได้ว่าจะเช่ารถขับเอง ที่นี่เป็นระบบอังกฤษขับชิดซ้าย
-
ชอบภาษามาเลย์ โดยเฉพาะที่มี 4 พยางค์เช่น Putrajaya พอเราค้นหาความหมายลึกลงไป จะพบความเชื่อมโยงกับคำไทยที่มาจากสันสกฤต Putra คือ บุตร และ Jaya คือชัย แปลความหมายเราจะได้ “ไชยบุตร”
-
ยังมีคำอื่นๆ อีกเช่น สังขยา = Kaya ตลาด = Pasar คำหลังมีรากจากภาษาเปอร์เซียที่บ้านเราใช้บอใบไม้สะกดว่าบาซาร์ พอจะเห็นอะไรไหม? คนที่ใช้ตัว P ในคำที่บ้านเราออกเสียงบอใบไม้
-
อาหารที่นี่ ไม่ได้ถูกปากในทุกร้านที่กินเหมือนที่เวียดนามกับจีน อาหารส่วนใหญ่เป็นลูกผสม Sino-Malay หรือไม่ก็มี Malay แท้ๆ คือมาจากอินเดีย หรืออาหารจีนเช่นกัน
-
มีคนเตือนเรื่อง Taxi เยอะ เราลองขึ้นดูปรากฏว่าขับดี เป็นมิตร และไม่แพงเพราะเราขอให้กดมิเตอร์ และ Monitor เส้นทางผ่านมือถือด้วย ตอนแรกก็หวั่นๆ เพราะเลี้ยวผิดทิศทาง แต่ก็เข้าใจหลังจากดูแผนที่แล้วว่ามันมีทาง Hi Way ซึ่งอาจอ้อมนิดหน่อย แต่ไม่ผ่านเขตเมืองก็เข้าใจได้ ราคาทาง 20 KM เสียเงินประมาณ 230 บาท ก็ถือว่าไม่แพงเกินไปนัก ที่สิงคโปร์แพงกว่านี้
-
3G เร็ว เร็วกว่าที่สิงคโปร์ มีสัญญาณแกว่งบ้าง แต่ก็น้อยกว่าไทย ที่น่าอิจฉาคือพวกเขาเริ่มทดลอง 4G และเริ่มโปรโมทเน็ตผ่านไฟเบอร์กันแล้ว ว้าววว
-
ราคา 3G อยู่ที่ 288 บาท ต่อ 7 วัน ต่อ 1500 MB ถืิอว่าถูกกว่า HK และจีน (นับที่จ่ายเงิน เพราะจีนไม่มี 3G แบบใช้น้อยๆ) แต่ที่เจอถูกสุดคือเวียดนาม
-
ที่นี่มี Silicon Valley แห่ง SE Asia ชื่อว่า Cyberjaya
-
มีเมืองใหม่ ที่วางตัวเป็นเมืองแห่งอนาคต วาง Infrastucture ไว้อย่างดีชื่อ Putrajaya อยู่ใกล้สนามบิน ความหมายของชื่อบอกไว้ในข้างต้นแล้ว
-
เมืองต้นแบบแห่งศตวรรษที่ 21 ชื่อ Putrajaya นั้น สวย สะอาดและน่าอยู่มาก ถือเป็น Highlight ของการเดินทางรอบบนี้
-
ยังมีอีกเมืองชื่อ Cyberjaya ที่วางตัวเองเป็น Silicon Valley แห่งอุศาคเนย์ อยู่ใกล้ๆ แต่ไม่ได้ไปเยือน
-
เนื่องจากมีระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรัฐบาลจึงสร้าง KL Sentral ไว้เป็นศูนย์กลาง สำหรับการเดินทางจากทุกรสารทิศมาที่ KL
-
KL Sentral จะมีการสร้างห้างสรรพสินค้าอีกหลายแห่งเกิดขึ้นในย่านใกล้เคียง ในทางหนึ่งคือช่วยให้เดินทางสะดวก และก็เพิ่มมูลค่าที่ดินไปในตัว แต่ผมไม่แน่ใจว่าแบบนี้ดีกว่าไหม เพราะผมอยู่นอกเมืองอยู่แล้วและการเดินทางไป Sentral ก่อน เพื่อต่อรถไปนอกเมืองอีกที เป็นเรื่องที่… ส่วนตัวไม่ชอบการ Centralize เท่าไร แต่คิดว่ามันค มีเหตุผลอีกหลายอย่างถึงตัดสินใจทำแบบนี้
-
ภาษาอังกฤษของที่นี่จะอยู่ในรูป Simplified เล็กๆ คือใช้ตัว S และตัว K แทนตัว C ในฟังก์ชันอักษรนำ เช่น Sentral = Central, Komuter = Commuter, Sen = Cent ฯลฯ
-
ภาษามาลายู ใช้เป็นภาษาทางการในมาเลเซีย สิงคโปร์ บูรไน และอินโดเนเซีย มีสัดส่วนคนใช้มากที่สุด ไม่ต้องสงสัยว่าหากรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน ภาษานี้จะถูกดันขึ้นเป็นอีกหนึ่งในภาษาหลักเพื่อการสื่อสารของกลุ่ม
-
ที่นี่ประกาสชัดว่าเป็นรัฐอิสลาม คนชาติพันธุ์หลักคือมาเลย์ อินเดีย และมีน้อยหน่อยคือจีน
-
คนจีนกว่าจะได้เห็นแบบเยอะๆ ต้องไปเดินแถบห้าง หรือย่านการค้า
-
ดังนั้นก็คงไม่ต้องหวังเรื่องสาวๆ ส่วนใหญ่แต่งมิดชิดและคลุมหัว มีส่วนน้อยที่คลุมหน้า
-
มีสาวสวยบ้างส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติ ฝรั่งหรือญี่ปุ่น เกาหลี ส่วนแขกอินเดียที่ไม่ได้แต่งตัวมิดชิด หรือแต่งตัวชุดประจำชาติ ก็มักจะเซ็กซี่ไปเลย