อ่าน Tweets ของวันนี้ แล้วเห็นมีการบ่นถึงประเดน “การหยาบคายในที่สาธารณะ” (Public Timeline)
กระบวนความคิดของผม แบ่งความหยาบคายออกเป็น 2 แบบคือจาก “การกระทำ” และจาก “วาจา”
ในที่นี้พูดถึงแต่เรื่อง Tweets ก็ตัดเรื่องการกระทำทิ้งออกไป นั้นก็เหลือแต่เรื่องของวาจา หรือการใช้ภาษา
“ภาษา” จะหยาบคาย หรือจะสุภาพ นั้นเกิดจาก “การรับรู้” ของผู้รับสาร (เราพูดกู-มึง กับเพื่อนโดยที่เพื่อนเราไม่รู้สึกว่ามันหยาบคาย)
และ “การรับรู้” ที่เปลี่ยนไปจากอย่างหนึ่งไปสู่อีกอย่างหนึ่ง (วิวัฒน์) นั้นเกิดจากความต้องการที่จะสร้าง “สำนึกในความแตกต่าง” ถ้าไม่ต้องการสร้างสำนึกในความแตกต่าง ก็ไม่จำเป็นต้องสร้างความหมายของคำว่า “เรา” ออกมาเป็นคำต่างๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน (Synonyms) ถึงมากมายได้ขนาดนี้เพื่อใช้กันตั้งแต่ ไพร่จนไปถึงผู้ดี จากผู้ที่อาศัยบน “พื้นดิน” ไปจนถึงผู้อาศัยอยู่บน “ฟ้า”
ในฐานะผู้ที่ได้รับการอบรมมา “ผม” ขอเลือกใช้คำเรียกตัวเองในแบบที่ปลอดภัยที่สุด เพื่อฟังแล้ว “ระคายหู” คนทุกชนชั้น (แม้จะมีข้อห้ามสำหรับคำสามัญเช่น “กระผม” จะยังไม่สามารถใช้กับบางชนชั้นได้ก็ตาม)
ในฐานะผู้ที่นิยมความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ผมมีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้คำแทนตัวเองได้ “อย่างหลากหลาย” ด้วยความสนุกกับการใช้งานภาษา กับผู้รับสารที่เรามั่นใจว่าจะไม่มี “การแบ่งชนชั้น” ทางภาษาจากเรา
เมื่อไม่ต้องคิดว่ามัน “สุภาพ” ก็ไม่ต้องคิดว่ามัน ‘หยาบคาย” 😀
เอ….แล้ว " เมื่อไม่ต้องคิดว่ามัน "หยาบคาย" ก็ไม่ต้องคิดว่ามัน "สุภาพ" " เนี่ยสื่อความหมายได้เหมือนกันเปล่าหว่า 😛
RT @adct2luv เอ….แล้ว " เมื่อไม่ต้องคิดว่ามัน "หยาบคาย" ก็ไม่ต้องคิดว่ามัน "สุภาพ" " เนี่ยสื่อความหมายได้เหมือนกันเปล่าหว่า 😛 < ได้ครับ ~ P = Q ก็เหมือนกับ ~Q = P ^ ^