ที่มาของคำว่าพีชคณิตและเรขาคณิตกับการแปลที่สร้างปัญหาย้อนหลัง

วันก่อนมีมิตรฯ เขียนโน้ตสั้น ๆ เกี่ยวกับคำว่า พีชคณิต ผมต้องขอบคุณเขาอย่างมาก เพราะเป็นคำที่ผมเอะใจแต่มองผ่านไป ด้วยเหตุที่ว่า ผมไปสนใจคำว่า Algebra ที่มีรากมาจากภาษาอาหรับคำแปลของพีชคณิตมากกว่า

โดยข้อสรุปคือ พีชคณิต มาจาก bIjagaNita बीजगणित หรือ “วิชาคณิต” นี่เอง

โดยคำว่า วิชา บิชา बीज นั้นแปลว่า Algebra ในตัวเองอยู่แล้ว

งง ล่ะสิครับ เพราะเราเองคุ้นเคยกับคำว่าวิชามาตั้งแต่เด็ก และใช้กับทุกสิ่งอย่าง วิชาสังคม วิชา สปช (ลุงแก่แล้ว) เป็นต้น

และคำว่า วิชา หรือ Subject ในความหมายที่คนไทยใช้กัน มันคืออะไรล่ะ ผมนำไปค้นหาที่ Spoken Sanskrit ก็พบว่ามันคือ วิทยา विधेय vidheya ซึ่งคำนี้เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) เช่นที่ในภาษาไทยใช้ “ชีววิทยา” นี่เองครับ

ณ จุดนี้ เราพบว่าการแปลคำมาจากอินเดีย เริ่มส่งปัญหาบางอย่าง เพราะมันเริ่ม Lost in Translation ไม่สิ ไม่ใช่แค่ Lost แต่ผิดเพี้ยนไปเลย

เอาล่ะ เรามาดูอีกสักคำครับ เรขาคณิต คำนี้ง่าย แปลตรงตัวมาจาก rekhAgaNita रेखागणित ซึ่งหมายถึง Geometry ในภาษาอังกฤษ

แต่เดี๋ยวนะ มันยังมีอีกคำที่แปลว่า Geometry เหมือนกัน คำนั้นคือ

क्षेत्रगणित kSetragaNita

ในความคิดแรก พบว่ามันแปลก ๆ ทำไมต้องมีคำแปลถึงสองคำ ไปสืบค้นดูถึงรู้ว่าภาษาสันสกฤตนั้น เรขา แปลว่า เส้น ระยะ ขณะที่คำว่า kSetra แปลว่าพื้นที่หรือระนาบ ใช่แล้วครับ มันคือคำว่า เกษตร นั่นเอง

ทั้ง เกษตรคณิต และ เรขาคณิต มันแปลว่า Geometry ทั้งคู่ แต่ในมุมมองของอินเดียว เขาแยกเส้นกับระนาบออกจากกัน เป็นความละเอียดในวิธีคิด

แต่ไทยเราแปลแล้วเอาแค่ เรขาคณิต มาใช้อย่างเดียวในความหมายของ Geometry เพราะเราผูกติดคำว่าเกษตรกับการกสิกรรมไปเรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ

คำที่คล้ายเกษตร ที่น่าสนใจคือ กษัตรา क्षत्र

ถ้าเกษตรคือพื้นที่ กษัตราคือนักรบ กษัตริยา क्षत्रिया คือรัฐบาล และชนชั้นกษัตริย์ หรือคนชนชั้นวรรณะปกครองที่รวมเอากษัตริย์และทหารมาเป็นเนื้อเดียวกัน

ซึ่งคำหลังนี้ถูกแปลมาอย่างไม่มีผิดเพี้ยน

โปรดแสดงความคิดเห็น Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.